การตรวจสอบปั้นจั่น/เครน (Test Load Crane) ตรวจสอบอะไรบ้าง?

ปั้นจั่นหรือเครน เรามักจะพบเห็นในงานก่อสร้าง หรือพบเห็นได้ตามสถานประกอบต่างๆ ปั้นจั่น คือ เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ และใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง ปั้นจั่นหรือเครนเป็นเครื่องจักรที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นเครื่องจักรที่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้วย เมื่อได้รู้แล้วว่าปั้นจั่นคืออะไร ต่อไปเราจะพาทุกคนมาดูว่าปั้นจั่นมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ปั้นจั่นมีกี่ประเภท

ปจ. หรือปั้นจั่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (ปจ.1) และปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (ปจ.2) ปั้นจั่นทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร

  • ปจ.1 ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ยกตัวอย่างเช่น ปั้นจั่นที่ติดตั้งบนหอสูงหรือทาวเวอร์เครน สามารถขนย้ายของได้ 6 ทิศทาง ติดตั้งรางวิ่งกับโครงสร้างสูงกว่าระดับพื้น นอกจากนั้นก็ยังมี ปั้นจั่นหรือเครนที่ติดผนัง รอกยกสิ่งของ ลิฟท์ขนส่ง เป็นต้น
  • ปจ.2 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ ยกตัวอย่างเช่น รถเครนตีนตะขาบ รถเครนล้อยาง เครนติดรถบรรทุกหรือรถเฮี๊ยบ โมบายเครน เรือเครน และอื่นๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

การตรวจสอบปั้นจั่น/เครน (test load เครน) ตรวจสอบอะไรบ้าง?

เมื่อได้รู้แล้วว่า ปั้นจั่น คืออะไร มีกี่ชนิด ต่อมาเราจะพูดถึงการตรวจสอบเครนหรือปั้นจั่น ตรวจสอบอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้ศึกษาและทำความเข้าใจ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบปั้นจั่น คือ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

การตรวจสอบปั้นจั่น/เครน ให้ตรวจสอบดังนี้

  • ตรวจสอบสภาพโครงสร้างหลักของปั้นจั่น ตรวจสอบสภาพน๊อต การคลายตัวและตรวจสอบรอยเชื่อม
  • ตรวจสอบระบบต้นกำลังเครน ตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง ระบบหล่อลื่น ระบบระบายความร้อน ระบบควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบต่อกำลังและตรวจสอบระบบเบรก
  • ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของเครนหรือปั้นจั่น ตรวจสอบชุด Limit Switches ตรวจสอบการทำงานชุดควบคุมพิกัดการยก
  • ตรวจสอบสลิงเครน ม้วนรอก ตรวจสอบเส้นผ่าศูนย์กลางสลิง โซ่ ตรวจสอบการชำรุดเสียหาย
  • ตรวจสอบไฟเตือน สัญญาณเสียง ความสว่างของไฟเตือน ระบบเสียงเตือนต้องได้ยินชัดเจน
  • ทดสอบพิกัดการยก (Load test) ด้วยการใช้น้ำหนักจริงเพื่อทดสอบการยกอย่างปลอดภัย

น้ำหนักที่ใช้ทดสอบเครน โดยวิศวกรจะทดสอบการรับน้ำหนักตามอายุการใช้งาน

1.ปั้นจั่นใหม่

  • ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนัก 1 เท่า ไม่เกิน 1.25 เท่า
  • ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 เท่าจากพิกัดการยกอย่างปลอดภัย

2.ปั้นจั่นใช้งานแล้ว

  • ให้ทดสอบการรับน้ำหนัก 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริง แต่ต้องไม่เกินพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
  • หากไม่มีพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดแทน

ทั้งหมดนี้ คือ รายการสำคัญในการตรวจสอบปั้นจั่นหรือเครน เมื่อได้รู้แล้วว่าต้องตรวจสอบอะไรบ้าง มีการทดสอบอย่างไร ทีนี้ ก็มาถึงความถี่ในการตรวจปั้นจั่น โดยมีดังต่อไปนี้

  • ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง พิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบทุก 6 เดือน แต่ถ้าเกิน 3 ตัน ให้ทดสอบทุก 3 เดือน
  • ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ พิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด 1-3 ตัน ให้ทดสอบทุก 1 ปี 3-5 ตันให้ทดสอบทุก 6 เดือน และมากกว่า 50 ตันให้ทดสอบทุก 3 เดือน

ปั้นจั่น คืออะไร มีกี่ชนิด การตรวจเครนหรือปั้นจั่น ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง การทดสอบพิกัดการยก เป็นอย่างไร และความถี่ในการตรวจสอบ หวังว่าทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคน

 

บริการของเรา